วันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ประวัติศาสตร์กฎหมาย

กฎหมายอาญาสมัยบาบิโลน

ประมวลกฎหมายพระเจ้าฮัมมูราบียึดหลักการแก้แค้นตอบแทนที่รุนแรงมาก หลักการดังกล่าวนี้ เป็นหลักการของกฎหมายดั้งเดิมที่เรียกว่า “Lex Talionis” หรือ “ตาต่อตา ฟันต่อฟัน” เห็นได้จากข้อความที่บัญญัติไว้ในกฎหมายดังนี้คือ
1.ถ้าบุคคลใดทำลายดวงตาของอีกผู้หนึ่ง ดวงตาของบุคคลนั้นจะถูกทำลายเช่นกัน
2.ถ้าชายคนหนึ่งเป็นเหตุให้ชายอีกคนสูญเสียลูกนัยน์ ตา ลูกนัยน์ตาของชายคนนั้นต้องถูกควักออกมา
3.บุคคลใดทำให้บุตรสาวของผู้อื่นถึงแก่ความตาย บุตรสาวของตนก็จะถูกลงโทษให้ถึงแก่ความตายด้วย
4.ถ้าบ้านพังตกลงมาทับเจ้าของบ้านตาย ผู้สร้างต้องรับผิดชดใช้ด้วยชีวิต
5.ช่างก่อสร้างบ้านเรือนที่ทำให้บุตรของเจ้าของบ้านถึงแก่ความตายโดยประมาทบุตรของตนจะถูกลงโทษให้ถึงแก่ความตายเช่นกัน
6.เจ้าหนี้ทำให้บุตรของลูกหนี้ซึ่งมาอยู่กับตนในฐานะเป็นผู้ขัดหนี้ถึงแก่ความตายบุตรของเจ้าหนี้จะถูกลงโทษให้ถึงแก่ความตายด้วย
เมื่อ พิจารณาหลักการลงโทษจะเห็นว่าเป็นการลงโทษแก่บุตรหรือธิดาของผู้กระทำผิด ซึ่งบุคคลดังกล่าวไม่ได้กระทำความผิด อันเป็นวิธีการลงโทษที่แตกต่างกับกฎหมายอาญาในปัจจุบัน ที่มีวัตถุประสงค์ในการแก้แค้นหรือตอบแทนผู้ที่กระทำความผิด
ประมวล กฎหมายนี้ไม่มีการลงโทษจำคุกแก่ผู้กระทำผิด เพราะโทษที่ลงแก่ผู้กระทำผิดร้ายแรงที่ผู้กระทำผิดมีเจตนา เช่น ปล้นทรัพย์ ชิงทรัพย์ ลักทรัพย์ คือโทษประหารชีวิต แต่ความผิดอื่น ๆ ที่ไม่ร้ายแรง โทษที่ผู้กระทำผิดได้รับคือ โทษปรับ เช่น การฆ่าคนตายโดยเจตนาต้องถูกลงโทษประหารชีวิต แต่ถ้าจำเลยสาบานว่าฆ่าคนจริงแต่ไม่เจตนาโทษที่จำเลยได้รับคือปรับโดยคำนึง ถึงชั้นวรรณะของผู้ซึ่งถึงแก่ความตายเป็นหลัก
นอกจากนี้ลูกทำร้ายร่างกายพ่อ จะถูกลงโทษให้ต้องตัดมือทิ้งเสีย
วิธีพิสูจน์ความผิดฐานมีชู้ ให้นำภรรยาไปโยนลงในแม่น้ำ ถ้าลอยน้ำถือว่าบริสุทธิ์ ถ้าจมน้ำถือว่ามีความผิด 
ประมวลกฎหมายจัสติเนียน

กฎหมาย Civil Law หรือ ประมวลกฎหมายจัสติเนียน เกิดจากปัญหาความไม่แน่นอนในการตัดสินคดี เนื่องจากจักรพรรดิหลายพระองค์กำหนดให้อ้างอิงความเห็นของนักกฎหมาย 5 นาย จึงจะเป็นความเห็นที่เชื่อถือได้ ถ้าความเห็นของนักกฎหมายเป็นไปในทางเดียวกันทั้ง 5 นาย ผู้พิพากษาจะตัดสินตามนั้น แต่ถ้าไม่ตรงกันผู้พิพากษาจะพิจารณาตามความเห็นของใครก็ได้
ค.ศ.528 ภายหลังจักรพรรดิจัสติเนียนเป็นจักรพรรดิได้ 1 ปี ทรงแต่งตั้งกรรมการคณะหนึ่งมี 10 คน มีไทโบเนียน ซึ่งเป็นนักกฎหมายที่มีชื่อเสียงในขณะนั้นเป็นประฐานมีหน้าที่รวบรวมและจัด ทำกฎหมายขึ้นใหม่
ใน ปี ค.ศ.530 จัสติเนียนได้ให้ไทโบเนียน จัดทำกฎหมายขึ้นใหม่อีกครั้งหนึ่งให้มีลักษณะกว้างขวางสามารถบังคับได้ทั่ว ไป ไทโบเนียนได้เลือกบุคคลอื่น ๆ มาร่วมงานด้วย 16 คน ล้วนแต่เป็นนักกฎหมายที่มีชื่อเสียงทั้งสิ้น และ 4 คนในจำนวนนี้เป็นศาสตราจารย์ทางกฎหมาย ใช้เวลา 3 ปี ได้จัดทำกฎหมายขึ้น 2,000 บรรพ ขนาด 3,000,000 บรรทัด แต่ในที่สุดถูกตัดทอนลงเหลือ 150,000 บรรทัด

ประมวลกฎหมายจัสติเนียน ประกอบด้วยบทบัญญัติ 3 ภาค ดังนี้คือ
1.คำอธิบายกฎหมายเบื้องต้น เป็นบทบัญญัติเพื่อแนะนำให้ผู้ศึกษากฎหมายเข้าใจกฎหมายและเนื้อหาสาระ จึงได้ให้คณะกรรมการจัดทำคำอธิบายกฎหมาย ซึ่งจะกล่าวถึงสาระสำคัญของกฎหมายทั้งหมดให้เป็นระบบเพื่อสะดวกแก่การศึกษา คำอธิบายกฎหมายเบื้องต้นนี้มีอยู่ด้วยกัน 4 เล่ม ส่วนใหญ่เป็นคำอธิบายของไกอัสเป็นแนวทาง เช่น
“ความยุติธรรมคือเจตจำนงอันแน่วแน่ตลอดกาลที่จะให้แก่ทุกคนตามส่วนที่เขาควรจะได้”
“วิชานิติศาสตร์เป็นวิชาที่ว่าด้วยความถูกต้องและความไม่ถูกต้อง เป็นวิชาที่ว่าด้วยความเป็นธรรมและความอยุติธรรม”
“หลักกฎหมายก็คือ ดำรงชีวิตด้วยความซื่อสัตย์ ไม่ทำร้ายผู้อื่น และให้แก่ทุกคนตามส่วนที่เขาควรได้”
2.วรรณกรรมกฎหมาย เป็นการรวบรวมข้อคิดและความคิดเห็นของนักกฎหมายตั้งแต่ 100 ปี ก่อนคริสต์ศักราชเรื่อยมาจนถึงศตวรรษที่ 4 สรุป วรรณกรรมกฎหมายก็คือความเห็นของนักกฎหมายเอามารวมเล่มไว้โดยรวบรวมจาก หนังสือประมาณ 2,000 เล่ม แล้วย่อลงมาเหลือ 50 เล่ม มีประมาณ 150,000 บรรทัด เช่น
วรรณกรรมกฎหมาย หรือ บทคัดย่อของจัสติเนียน กล่าวว่า “ย่อมไม่มีการขายถ้าไม่มีราคา” มาจากความเห็นของนักกฎหมาย ชื่อ Ulpianus ซึ่งเห็นว่าราคาเป็นองค์ประกอบสำคัญของสัญญาซื้อขายโรมัน
3.ประมวลพระราชบัญญัติ รวบรวมตัวบทกฎหมายที่ออกโดยพระจักรพรรดิ ทั้งก่อนและหลังสมัยจักรพรรดิคอนสแตนตินโดยเรียบเรียงเป็นบรรพ เป็นเรื่อง รวบรวมเสร็จภายในปีเศษและประกาศใช้ ค.ศ.529 หลังประกาศใช้ไปแล้วประมาณ 5 ปี ก็มีความจำเป็นจะต้องแก้ไขปรับปรุงใหม่ เพราะว่าล้าสมัยประมวลกฎหมาย ฉบับที่ 2 มีชื่อว่า Justinian’s Code of the resumed readiong ฉบับนี้ตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน
ฉะนั้นในสมัยจักรพรรดิจัสติเนียน จะมีประมวลอยู่ 2 ฉบับ
1.Justinian’s Code หรือ Corpus Juris Civilis ซึ่งยังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์
2.Justinian’s Code of the resumed reading
นอกจาก 3 ภาคที่กล่าวแล้วในประมวลกฎหมาย Civil Law ยังมีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายเมื่อประกาศใช้ประมวลกฎหมายซีวิล ลอว์ไปแล้ว จัสติเนียนก็ไม่ได้ทรงนิ่งนอนพระทัย ทรงแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายให้ทันสมัยอยู่เสมอ ในระยะหลังก็ออกมาเป็นพระราชบัญญัติและตั้งพระทัยว่าจะรวบรวมกฎหมายให้เป็น ประมวลในโอกาสต่อไปแต่ก็สิ้นพระชนม์เสียก่อน
กำเนิดกฎหมาย 12 โต๊ะ

ในปี 452 ก่อนคริสต์ศักราช ทางการจึงส่งผู้แทน 3 คน เดินทางไปยังประเทศกรีซ เพื่อทำการศึกษากฎหมาย Soln ซึ่งเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรของกรีซ เพื่อเอามาเป็นแบบอย่างในการจัดทำกฎหมายโรมัน โครงร่างเพิ่มขึ้นอีก 10 โต๊ะ จึงกลายเป็นกฎหมาย 22 โต๊ะ แต่ 12 โต๊ะแรกนั้น ผู้ร่างกฎหมายคือ พวกชนชั้นสูงหรือพวก Patrician เมื่อร่างออกมาแล้วก็ยังมีการกดขี่อยู่  และไม่ได้ให้สิทธิเท่าที่ควรจะได้ ดังนั้น จึงมีการเสนอให้พวก Plebeians เข้า ไปร่วมเป็นกรรมการในการร่างกฎหมายเพิ่มเติม และกฎหมายสิบสองโต๊ะได้มีการใช้มาเรื่อยๆจนถึงที่ได้มีการแยกโรมันออกเป็น 2 ส่วน ปี ค.ศ. 305 ได้เกิดสงครามกลามเมืองระหว่างผู้นำของโรมัน 2 คน คือ ลีซีนีอุส (Licinius) กับ คอนสแตนติน(Constantin) ผลปรากฏว่าคอนสแตนตินได้รับชัยชนะเหนือลีซีนีอุส ในสมรภูมิใกล้เมืองไบแซนทิอุม (Byzantium) ในปี ค.ศ. 324 และได้สถาปนาตนเองขึ้นเป็นจักรพรรดิของจักรวรรดิของโรมัน  
มี ที่มาเนื่องจากมีข้อเรียกร้องของพวกสามัญชน โดยอ้างว่าตนไม่สามารถรู้ถึงกฎหมายต่าง ๆ ที่มีอยู่ เพราะถูกบิดบัง และกล่าวหาว่าการใช้กฎหมายของพวกชนชั้นสูงหรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองเป็นไป โดยไม่แน่นอน ดังนั้นในการออกกฎหมาย บังคับใช้กฎหมาย หรือการชี้ขาดตัดสินคดีเป็นอำนาจของพวก Patricians ทั้งสิ้น จึงก่อให้เกิดความไม่พอใจแก่พวก Plebeians ซึ่ง ไม่ใคร่จะมีโอกาสได้รู้เลยว่ากฎหมายที่ใช้มีอยู่อย่างไร ได้มีการเรียกร้อง ให้นำกฎหมายเหล่านั้นมาเขียนให้ปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษร อย่างไรก็ตามพวก Plebeians และพวก Patriclans ก็ล้วนแต่มีสภาของตนเองให้การปกครอง และมีอำนาจในการออกกฎหมายมาใช้บังคับกับพวกของตน เมื่อพวก Plebeians ถูก กดขี่มาก ๆ จึงเกิดการต่อสู้เรียกร้องให้สิทธิเท่าเทียมกัน เพราะโดยปกติตำแหน่งสูง ๆ ผู้ที่จะเป็นได้ก็คือพวกชนชั้นสูง จึงมีการบัญญัติกฎหมายลายลักษณ์อักษรขึ้นมา การต่อสู้ให้ได้มาซึ่งสิทธิของพวก Plebeians จนกระทั่งมีการออกกฎหมายที่สำคัญ มีชื่อเรียกว่า กฎหมาย 12 โต๊ะ The Twelve of Tables เป็นโต๊ะทองบรอนซ์ในสมัยจักรพรรดิ Justinian ประมาณ 400 – 450 ปีก่อน ค.ศ. ถือกันว่าเป็นกฎหมายที่มีชื่อเสียงมาก เป็นกฎหมายจารีตประเพณีที่ใช้อยู่เป็นส่วนใหญ่ จึงได้ทำการรวบรวมจารีตประเพณีที่ใช้เป็นกฎหมายอยู่ในขณะนั้นบันทึกลงบนแผ่น ทองแดง โดยมีการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ฝ่าย ปกครอง 10 คน ในปี 451 ก่อนคริสตกาล กรรมการชุดนี้จึงได้จัดทำการแต่งตั้งกรรมการขึ้นอีกชุดหนึ่งจัดทำกฎหมายขึ้นมาใหม่อีก 12 โต๊ะ ซึ่งก็ได้รับความเห็นชอบจาก Comitia Centuriata อีกเช่นกัน บทบัญญัติของกฎหมาย 12 โต๊ะ ได้เขียนไว้บนแผ่นทองบรอนซ์ และนำไปตั้งอยู่ในท้องตลาด แต่ภายหลังต่อมาในปี 390 ก่อนคริสตกาล ได้ถูกพวกโกล (Goul) เผาทำลาย กรุงโรม อย่างไรก็ดีความรู้ในเนื้อหาของกฎหมาย 12 โต๊ะ ซึ่งได้มากจากฉบับที่คัดลอกเพื่อการศึกษาเป็นส่วนตัวและจากเอกสารอื่น ๆ จึงทำให้ทราบว่ากฎหมาย 12 โต๊ะนี้ประกอบด้วย
        โต๊ะที่ 1, 2 และ 3                                 พิจารณาความแพ่ง และการบังคับคดี
        โต๊ะที่ 4                                              อำนาจบิดาในฐานะเป็นหัวหน้าครอบครัว
        โต๊ะที่ 5, 6 และ 7                                 การสืบมรดกและทรัพย์สิน
        โต๊ะที่ 8                                              ละเมิด หรือกฎหมายอาญา
        โต๊ะที่ 9                                              กฎหมายมหาชน
        โต๊ะที่ 10                                            กฎหมายศักดิ์สิทธิ์
        โต๊ะที่ 11 ,12                                     กฎหมายเพิ่มเติม ซึ่งรวมทั้งกฎหมายห้ามมิให้มีการสมรสระหว่างพวกชน ชนชั้นสูง   (Patrician) กับพวกสามัยชน (Plebeians)

เป็น ที่น่าเสียดายว่ากฎหมาย 12 โต๊ะถูกทำลายในปี 390 ก่อนคริสต์ศักราช เนื่องจากโรมถูกชาวโกลรุกราน และถูกเผ่าทำให้กฎหมาย 12 โต๊ะถูกทำลายไปด้วย และไม่เป็นที่เชื่อได้อย่างแน่นอนว่ากฎหมาย 12 โต๊ะที่ศึกษาอยู่ในภายหลังจะถูกต้องหรือไม่

เรื่อง กฎหมายของชาวยิว

ได้ มีกฎหมายลายลักษณ์อักษรเกิดขึ้นกับชาวฮิบรูหรือยิวอยู่ระหว่างปี1275ถึง 586ก่อนคริสต์ศักราช ปัจจุบันเรียกว่าอิสราเอล ชนเผ่าฮิบรูเป็นชนเผ่าเซเมติก เดิมอยู่ทางตอนล่างของลุ่มแม่น้ำยูเฟรติส ชาวฮิบรูได้เข้าไปตั้งบ้านเรือนปะปนกับชาวคานาน ต่อมาเรียกดินแดนนี้ว่าปาเลสไตน์
ชาว ฮิบรูเคยเข้าไปในอียิปต์และตกเป็นทาสของชาวอียิปต์อยู่ระยะหนึ่ง โมเสสเจ้าชายหนุ่มชาวอิสราเอลเกิดขึ้นที่นั่น เขาเติบโตในพระราชวังของกษัตริย์ฟาโรห์ โมเสสได้ต่อสู้เพื่อหยุดยั้งชาวอียิปต์ที่ทำร้ายข่อขู่คนงานชาวอิสราเอลจน โมเสสได้ฆ่าชาวอียิปต์และเขาหนีไป ต่อมาได้เป็นผู้นำของชาวอิสราเอล โมเสสได้เห็นพระผู้เป็นเจ้า พระองค์บอกให้เขานำชาวอิสราเอลไปสู่ดินแดนใหม่ เขาจึงกลับมาอียิปต์แล้วแสดงให้ฟาโรห์เห็นถึงความต้องการเป็นอิสระของชาว อิสราเอล โมเสสได้ขู่ฟาโรห์ว่าถ้าไม่ทำตามจะได้พบกับพลังอำนาจของพระผู้เป็นเจ้า คือพระยะโฮวาห์ กษัตริย์ฟาโรห์จึงยอมปล่อยชาวอิสราเอลเป็นอิสระ
โมเสสนำชาวอิสราเอลผ่านทะเลทรายเพื่อค้นหาดินแดนใหม่ จนชาวอิสราเอลท้อ โมเสสตำหนิพวกเขาว่าให้มีความเชื่อถือในพระผู้เป็นเจ้า
บน ภูเขาชีไน โมเสสที่อยู่ตามลำพังคนเดียวได้เห็นและได้ยินกฎหมายของพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งพระองค์ได้แกะบัญญัติสิบประการบนแผ่นป้ายที่ทำด้วยก้อนหิน



ผู้ ฝ่าฝืนกระทำผิดบัญญัติสิบประการ ไม่มีโทษประหารชีวิตหรือโทษปรับเหมือนกฎหมายสมัยบาบิโลนหรือไม่มีสภาพบังคับ อย่างเช่นกฎหมายในปัจจุบัน

กฎหมายของโรมัน (Roman Law)

 กฎหมาย โรมันนับเป็นมรดกทางการปกครองสำคัญที่ชาวโรมันทิ้งไว้ให้คนรุ่นหลังกฎหมาย ฉบับแรกของโลกคือ กฎหมายสิบสองโต๊ะ ซึ่งประกาศใช้ในปี 450 ก่อนคริสต์ศักราช กฎหมายนี้ลักษณะที่เข้มงวดและมีบทลงโทษที่รุนแรง เมื่อโรมันขยายตัวเป็นจักรวรรดิ มีการติดต่อค้าขายกับดินแดนต่างๆ ซึ่งมีกฎหมายและขนบประเพณีเฉพาะ ชาวโรมันได้รวบรวมกฎหมายที่ได้พบเห็นนี้มาปรับปรุงให้เข้ากับกฎหมายเดิมจน ได้กฎหมายที่เหมาะสมกับจักรวรรดิที่ประกอบด้วยชนหลายกลุ่ม กฎหมายนี้เรียกว่า จุส เจนติอุม (jus gentium) ซึ่งหมายถึงกฎหมายของชนทั้งหลาย
ในช่วงปลายจักวรรดิโรมันได้มีการชำระรวบรวมประมวลกฎหมายโดยอาศัยเอกสาร ต่างๆ เป็นหลัก เช่น มติสภาเซเนท พระราชกฤษฎีกาของพระจักรพรรดิ หลักปรัชญา และข้อคิดเห็นในกฎหมายที่มีชื่อ เป็นต้น กฎหมายฉบับที่เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายคือ ประมวลกฎหมายจัสติเนียน
กฎหมายโรมันได้รับอิทธิพลจากปรัชญาสำนักสโตอิคทำให้หลักการของกฎหมาย วางอยู่บนพื้นฐานของกฎธรรมชาติ (Natural Laws) ถือว่ากฎหมายคือสิ่งที่พระเจ้าสร้างขึ้น กฎหมายจึงสามารถใช้คลอบคลุมมนุษย์ทุกคนและทุกรัฐอย่าเท่าเทียมกัน
หลักการสำคัญของกฎหมายโรมันคือให้ความสำคัญในเรื่องสิทธิของบุคคล ทุกคนจะได้รับความเท่าเทียมกันตามกฎหมายไม่มีการทรมานผู้ต้องหาเพื่อให้รับ สารภาพ รวมทั้งถือว่าผู้ต้องหาคือผู้บริสุทธิ์ตราบเท่าที่ยังไม่สามารถพิสูจน์ความ ผิดได้ แม้แต่ทาสก็ได้รับความคุ้มครองโดยกฎหมายลักษณะทาส ทาสมีสิทธิที่จะเรียกร้องค่าทดแทนในกรณีที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากเจ้านาย
กฎหมายที่มีประสิทธิภาพและมีระบบของโรมันเหล่านี้กลายเป็นแม่แบบของ กฎหมายประเทศต่างๆ ในยุโรปในสมัยต่อมา โดยเฉพาะประเทศอิตาลี ฝรั่งเศส สเปน โปรตุเกส รวมทั้งประเทศต่างๆ ในอเมริกากลางและอเมริกาใต้
ก่อน ที่จะกล่าวถึงกฎหมายโรมันว่ามีกฎหมายอะไรบ้าง เราจะต้องทราบถึงสภาพความเป็นอยู่และการเมือง การปกครองในสมัยโรมันก่อนว่า สมัยโรมันนั้นปกครองกันอย่างไร มียุคใด ยุคโรมันเราสามารถแบ่งเป็นกี่ยุค ในตำราแบ่งเป็น 3 ยุค แต่เพื่อให้ละเอียดยุคที่ 3 แยกได้เป็น 2 ยุค จึงกลายเป็น 4 ยุค ด้วยกันคือ
1. ยุคแรก เรียกว่า ยุคกษัตริย์  Monarchy หรือ Regal period เริ่มตั้งแต่ 753 ถึง 509 ก่อนคริสต์ศักราชในช่วงนี้มีระยะเวลาประมาณ 200 กว่าปี
2. ยุคที่ 2 เรียกว่า ยุคสาธารณรัฐ (Republic) อันเป็นช่วงต่อจากปี 509 ถึงปีที่ 27 ก่อนคริสตกาล กฎหมายสิบสองโต๊ะเกิดขึ้นในยุคนี้ และมีการปกครองโดยรัฐสภากับกงกุส หรือคอนซูลที่มีชื่อเสียง คือ ซีซาร์
3. ยุคที่ 3 เรียกว่า ยุคจักรวรรดิหรือจักรพรรดิ (Principate) เป็นยุคล่าอาณานิคม อันเป็นช่วงที่ต่อจากปี 27 คือปีที 26 ก่อนคริสตกาลถึง พ.ศ.284 รวมแล้วประมาณ 300 กว่าปี
4. ยุคที่ 4 ยุคเผด็จการ (Dominate) ตั้งแต่ ค.ศ.285 ถึง ค.ศ.476


  ที่มา::
แสวง บุญเฉลิมวิภาส, , ประวัติศาสตร์กฎหมายไทย ,วิญญูชน, บจก.สนพ., หน้า 56.
LW103 ประวัติศาสตร์กฎหมายไทยและระบบกฎหมายหลัก, .รามคำแหง
อนัทตชัย จินดาวัฒน์ ,ประวัติศาสตร์โลกฉบับสมบูรณ์ ,ยิปซีสำนักพิมพ์ ,หน้า 286
อนัทตชัย จินดาวัฒน์ ,ประวัติศาสตร์โลกฉบับสมบูรณ์ ,ยิปซีสำนักพิมพ์ ,หน้า 32
อนัทตชัย จินดาวัฒน์ ,ประวัติศาสตร์โลกฉบับสมบูรณ์ ,ยิปซีสำนักพิมพ์ ,หน้า  638
        

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น